วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต


   อินเทอร์เน็ต ถือ ได้ว่าเป็นบริการสาธารณะและมีผู้ใช้จำนวนมาก เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เข้ามาใช้ควรมีกฏกติกาที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานที่ผิดวิธี ในทีนี้ขอแยกเป็น 2 ประเด็น คือ

    1. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต
   แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 
   
        1. ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย ประกอบด้วย 

 ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ชื่อบัญชี  (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ 


ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น

ควรวางแผนการใช้งานล่วงหน้าก่อนการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อเป็นการประหยัดเวลา


เลือกถ่ายโอนเฉพาะข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานจริง

ก่อนเข้าใช้บริการต่างๆ ควรศึกษากฏ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการติอต่อ

                2.ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย ประกอบด้วย

เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่ และที่ติดต่อ

เมื่อนำข้อมูลจากเครือข่ายมาใช้ ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น และไม่ควรแอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง

ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต

               3.ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ ประกอบด้วย

ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร และใช้คำให้ถูกความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัดเข้าใจง่าย

ไม่ควรนำความลับ หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย

หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูก เหยียดหยามศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น

ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นควรสอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อด้วย ก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ไปยังผู้ที่เราติดต่อด้วย

ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เช่น จดหมายลูกโซ่

              4.ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ ประกอบด้วย

ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการติดต่อกับเครือข่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นๆ บ้าง

ควรติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น

        2. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย

ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และข่าวสารต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง

ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น

ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้

ควรระบุแหล่งที่มา วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้เผยแพร่ รวมทั้งควรมีคำแนะนำ และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน

ควรระบุข้อมูล ข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา ข่าวลือ ความจริง หรือความคิดเห็น

ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และที่สำคัญคือไม่ควรแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นที่เผยแพร่บนเครือข่าย

ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรมที่นำความเสียหาย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย และควรตรวจสอบแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร หรือโปรแกรมว่าปลอดไวรัส ก่อนเผยแพร่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต


ขอบคุณที่มา :  ttp://tc.mengrai.ac.th/paisan/elearning/internet/page35.htm


วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

    อินเทอร์เน็ต หมายถึง ครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสายตรงเชื่อมต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก. ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางอีเมล์ สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้. อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย, องค์กร หรือเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล 
 


  เว็บเพจ คือ  หน้าไฟล์เว็บไซต์หน้าต่างๆ จะมีเนื้อหา ภาพ เสียง และองค์ประกอบอื่นๆ ที่สามารถสร้างขึ้นมาได้ เปรียบเสมือนหนังสือเล่มหนึ่ง ที่สามารถเปิดอ่านได้หลายๆ หน้า เว็บเพจแต่ละหน้าจะถูกระบุเชื่อมโยงด้วยที่อยู่ของเว็บเพจที่เรียกว่า Url (Uniform Resource Locator) และในเว็บเพจยังมีจุดเชื่อมโยง (Links) หรือ ไฮเปอร์ลิงค์ (Hyperlink) ที่เป็นข้อความ หรือภาพที่ให้คลิกเม้าส์เพื่อเชื่อมโยงไปยังที่อยู่ของเว็บเพจอื่นๆ โดยการระบุด้วย Url นั่นเอง ตัวอย่าง Url ของเว็บไซต์

ขอบคุณที่มาจาก : http://www.faodoo.com/modules.php?name=Web_Board&file=view&No=19

  โฮมเพจ คือ คือ หน้าแรกของเว็บไซต์ เปรียบเสมือนหน้าบ้านของเรานั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น หากท่านเข้าเว็บไซต์ด้วยชื่อ www.google.co.th  ท่านก็จะเห็นหน้าแรก หรือ โฮมเพจ ทันที ซึ่งจะประกอบไปด้วยรายละเอียดโดยรวมเกี่ยวกับเว็บไซต์นั้นๆ และไฟล์ที่ใช้แสดงหน้าโฮมเพจ โดยปกติจะตั้งชื่อเป็น index.html

ขอบคุณที่มาจาก : http://www.faodoo.com/modules.php?name=Web_Board&file=view&No=19

 เว็บไซต์ คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงานโดยเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page) หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บไซต์ก็คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) ถึงกัน ตามหลักคำว่า เว็บไซต์จะใช้สำหรับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์แบบเซิร์ฟเวอร์หรือจดทะเบียนเป็นของตนเองเรียบร้อยแล้วเช่น www.google.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลเป็นต้น




วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

       การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่มากับมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยใช้ภาษาเป็นสื่อในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ซึ่งปัจจุบันการสื่อสารข้อมูลมีพัฒนาการเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น มีการส่งข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ซึ่งการเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นพื้นฐานสำคัญในการทำความเข้าใจเพื่อการพัฒนา และสามารถใช้เทคโนโลยีสำหรับการติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

         1. ความหมายและพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล
    
   การสื่อสาร ( Communication ) หมายถึง การส่งข้อมูลจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนข้อมูล ( data ) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักในการหาความจริง โดยในที่นี้จะหมายถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปตัวเลข 0 หรือ 1 ต่อเนื่องกันไป ซึ่้งเป็นค่าที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ

  ดังนั้น การสื่อสารข้อมูล ( data communication ) จึงหมายถึงกระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปตัวเลขฐานสอง ที่เกิดจากอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการติดต่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารตลอดจนแบ่งปันการใช้ทรัพยากรณ์ที่ีมีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน   


        การติดต่อสื่อสารของมนุษย์ในสมัยโบราณมีวิธีการที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เช่น การใช้ม้าเร็ว ใช้นกพิราบสื่อสาร เป็นต้น แต่เมื่อมนุษย์มีการพัฒนาความเป็นอยู่และการดำรงชีืวิต เครื่องมือและอุปกรณ์ในการสื่อสารก็ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัยก้าวหน้าควบคู่มาโดยตลอด เพื่อความสะดวกสบายในการสื่อสาร มีการใช้โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร โทรทัศน์ ดาวเทียม ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก ( Global Positioning System : GPS ) ระบบ 3G และ 4G ตามลำดับ การสื่อสารสามารถเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารให้ได้ยิืนเสียงและได้เห็นภาพเหล่านี้ ล้วนเป็นพัฒนาการด้านความคิดของมนุษย์ที่คิดค้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการข่าวสารข้อมูลของมนุษย์ด้วยกันเอง โดยสามารถสรุปพัฒนาการของสื่อสารข้อมูลที่สำคัญ ตั้งแต่อดีตจนถึง
ปัจจุบันตามลำดับ 


                2. เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์
        เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ ( computer network ) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกตามสภาพการเชื่อต่อได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้
        
         2.1 เครือข่ายส่วนบุคคล
   เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน ( Personal Area Network : PAN ) เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการเชื่อต่อแบบไร้สายในระยะใกล้ เช่น การเชื่อต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ การเชื่อต่อคอมพิวเตอร์กับเครื่องพีดีเอ เป็นต้น

        2.2 เครือข่ายเฉพาะที่
  เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน ( Local Area Network : LAN ) เป็นเครือข่ายขนาดเล็กซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยุ่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เป็นต้น โดยคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย เช่น ฮับ สวิตช์ เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัวจะเชื่อมต่อถึงกันโดยใช้สายตีเกลียวคู่ สายใยเเก้วนำเเสงหรือคลื่นวิทยุ และเครือข่ายแลนจะเชื่อมต่อถึงกันด้วยอุปกรณ์จัดเส้นทาง ( roter ) การสร้างเครือข่ายแลนนี้แต่ละองค์กร สามารถดำเนินการเองได้ หรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนนี้แต่ละองค์กร สามารถดำเนินการเองได้ โดยการวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคารหรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้องหรือองค์การขนาดใหญ่ เช่น ภายในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่เชื่อมต่อกัน สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว และยังสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อีกด้วย
    
    2.3 เครือข่ายนครหลวง
 เครือข่ายนครหลวง หรือแมน ( Metropolitan Area Network : MAN ) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงแลนที่ห่างกัน เช่น ระหว่างสำนักงานที่อยู่คนละอาคาร ระบบเคเบิล ทีวีตามบ้านในปัจจุบัน เป็นต้น โดยมีลักษณะ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีระยะห่างไกลกันในช่วง 5-40 กิโลเมตร ผ่านสายสื่อสารประเภทสายใยแก้วนำแสง สายโคแอกเชียล หรืออาจใช้คลื่นไมโครเวฟ 



   2.4 เครือข่ายวงกว้าง 
 เครือข่ายวงกว้างหรือ แวน  ( Wide Area Network : WAN ) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล มีการติดต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างต่างจังหวัด ระหว่างประเทศ เป็นต้น 


          

   3.โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
     การสื่อสารโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายชนิดต่างๆ กัน ซึ่งไม่สามารถ เชื่อมต่อกันได้โดยตรง ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลที่ส่งและกำหนดมาตรฐานทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟเเวร์เพื่อให้อุปกรณ์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ 

   3.1 โพรโทคอล
  โพรโทคอล ( protocol ) คือ ข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีคอมพิวเตอร์จะจัดรูปแบบและตอบรับข้อมูลระหว่างการสื่อสาร ซึ่งโพรโทคอลจะมีหลายมาตรฐาน และในแต่ละโพรโทคอลจะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป

      การติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านทางเครือข่ายนั้น จำเป็นต้องมีโพรโทคอลที่เป็นข้อกำหนดตกลงในการสื่อสารขึ้น เพื่อช่วยให้ระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้ โพรโทคอลนี้เป็นข้อตกลงที่กำหนดเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล การเเสดงผลข้อมูลสงและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง ดังนั้น จะเห็นได้ว่าโพรโทคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย ซึ่งหากไม่มีโพรโทคอลแล้ว การสื่อสารบนเครือข่ายจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ 

      ในปัจจุบันการทำงานของเครือข่ายใ่ช้มาตรฐานโพรโทคอลต่างๆ  ร่วมกันทำงานมากมาย นอกจากโพรโทคอลระดับประยุกต์แล้ว การดำเนินการภายในเครือข่ายยังมีโพรโทคอลย่อยที่ช่วยทำให้การทำงานของเครือข่ายมีประสิทธิภาพขึ้น ซึ่งโพรโทคอลที่ใช้การสื่อสารในปัจจุบันมีหลายประเภท ตัวอย่างเช่น 

    1. โพรโทรคอลเอชทีทีพี ( Hyper Text Transfer Protocol : HTTP ) เป็นโพรโทคอลหลัดในการใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นช่องทางสำหรับเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภาษาเอชทีเอ็มแอล ( Hyper Text Markup Language : HTML ) ใช้ร้องขอหรือตอบกลับระหว่างเครื่องแม่ข่าย ( web sever ) โดยทำงานอยู่บนโพรโทคอลทีซีพี ( Transfer Control Protocol : TCP )
   
   2. โพรโทคอลอลทีซีพี/ไอพี ( Transfer Control Protocol / Internet Protocal : TCP/IP )
เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต โดยมีการระบุผู้รับ ผู้ส่งในเครือข่าย และ แบ่งข้อมูลออกเป็นแพ็กเก็ตส่งผ่านไปทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งหากการส่งข้อมูลเกิดความผิดพลาดจะมีการร้องขอใ้ห้ส่งข้อมูลใหม่ 

 
   3. โพรโทคอลเอสเอ็มทีพี ( Simple Mail Transfer Protocol : SMTP ) คือโพรโืคอลสำหรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ( electronic mail ) หรือ อีเมล ( Email ) ไปยังจุดหมายปลายทาง
   4. บลูทูท ( Bluetooth ) เป็นโพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz ในการรับส่งข้อมูล คล้ายกับระบบแลนไร้สาย เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงไร้สาย เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ คีย์บอร์ด โทรศัพท์เคลื่อนที่ หูฟัง เป็นต้น เข้าด้วยกันได้สะดวก 

        ปัจจุบันมีโพโทคอลในระดับประยุกต์ใ้ช้งานมากมายนอกจากโพรโทคอลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เช่น การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน ใช้โพรโทคอลชื่อเอฟทีพี ( File Transfer Protocol : FTP ) การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันใช้โพรโทคอลชื่อเอ็นเอ็นพี ( Network News Transfer Protocol : NNTP ) เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในทุกวันนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาโพรโทคอลต่างๆ ขึ้นใช้งาน ซึ่งการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งจำเป็นต้องผ่านการใช้โพรโทคอลต่างๆ หลายโพรโทคอลร่วมกัน 
  

   3.2 อุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  การเชื่อมต่อเึีครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นระบบเครือข่ายได้นั้น จะต้องอาศัยอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( network device ) ซึ่งทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลโดยผ่านทางสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็นสื่อกลางแบบใช้สาย และสื่อกลางแบบไร้สาย ซึ่งอุปกรณ์สื่อสารในระบบคอมพิวเตอร์ มีดังนี้ 
    
   1. เครื่องทวนสัญญาณ ( repeater ) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจัทัลแล้วส่งต่อออกไปยังอุปกรณ์ตัวอื่น เหตุที่ต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ เนื่องจากการส่งสัญญาณไปในตัวกลางที่เป็นสายสัญญาณนั้น เมื่อระยะทางมากขึ้นแรงดันของสัญญาณจะลดลงเรื่องๆ ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณในระยะทางไกลๆ ได้ ดังนั้น การใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณจะทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้น โดยสัญญาณไม่สูญหาย 


      2. ฮับ ( hub ) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่ง หรือเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง เข้าด้วยกัน สัญญาณที่ส่งมาจากฮับจะกระจายไปยังทุกเครื่องที่ต่ออยู่กับฮับ ซึ่งแต่ละเครื่องจะเลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตอนเองเท่านั้น

    
    3. บริดจ์ ( bridge ) ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลตัวเดียวกัน ซึ่งมีความสามารถมากกว่าฮับและอุปกรณ์ทวนศัญญาณ คือ สามารถกรองข้อมูลที่จะส่งต่อได้ โดยการตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ส่งนั้นมีปลายทางอยู่ที่ใด หากเครื่องปลายทางอยู่ภายในเครือข่ายเดียวกันกับเครื่องส่ง ก็จะส่งข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น ไม่ส่งไปยังเครือข่ายอื่น แต่หากข้อมูลมีปลายทางอยู่ที่เครือข่ายอื่น ก็จะส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 


    4. อุปกรณ์จัดเส้นทาง ( router ) สามารถกรองข้อมูลได้เช่นเดียวกับบริดจ์ แต่จะมีความสามารถมากกว่า ตรงที่สามารถหาเส้นทางในการส่งกลุ่มข้อมูล ( data packet ) ไปยังเครื่องหมายปลายทางในระยะทางที่สั้นที่สุดได้

  
    5. สวิตช์ ( switch ) นำความสามารถของฮัยกับบริดจ์มารวมกัน แต่การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งจะไม่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเหมือนกับฮับ เพราะสวิตชฺจะทำหน้าที่รับกลุ่มข้อมูลมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นของคอมพิวเตอร์เครื่องใด แล้วนำข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์เป้าหมาย ซึ่งช่วยลดปัญหาการชนกันหรือความคับคั่งของข้อมูล
   6. เกตเวย์ ( gateway ) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าเครือข่ายนั้นจะใช้โพรโทคอลตัวใดก็ตาม เนื่องจากเกตเวย์สามารถเเปลงรูปแบบแพ็กเก็ตของโพรโทคอลหนึ่งไปเป็นรูปแบบของอีกโพรโทคอลหนึ่งได้ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในเครือข่ายของเกตเวย์ไว้ในอุปกรณ์จัดเส้นทาง ( router ) แล้ว ทำให้อุปกรณ์จัดเส้นทางสามารถทำงานเป็นเกตเวย์ได้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องซื้อเกตเวย์อีก 
       
   4. เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
   เทคโนโลยีในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย และเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย ดังนี้

   4.1 เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย
     เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบใช้สาย แบ่งออกตามชนิดของสายสื่อสารได้ 3 ชนิด ดังนี้
  1. สายตีเกลียวคู่ ( twisted pair cable ) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดง 2 เส้น ที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก พันบิดกันเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกัน หรือจากภายนอก เนื่องจากสายตีเกลียวคู่นี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายตีเกลียวคู่จะขึ้นอยู่กับความหนาของสาย คือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วสูง โดยทั่วไปใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล สามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินร้ิอยเมตร เนื่องจากมีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี จึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง สายตีเกลียวคู่ มี 2 ชนิด ดังนี้
   1.1 สายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดไม่หุ้มฉนวน ( Un-shielded Twisted Pair : UTP )  เป็นสายตีเกลียวคู่ที่ไม่มีฉนวนชั้นนอก ทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่สามาถป้องกันการรบกวนของคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า ได้น้อยกว่าสายตีเกลียวคู่ชนิดหุ้มฉนวน (STP) ใช้ในระบบวงจรโทรศัพท์ แบบดั้งเดิม ปัจจุบันมีการปรับคุณสมบัติให้ดีขึ้น สามารถใช้กับสัญญาณความถี่สูงได้ และเนื่องจากมีราคาถูกจึงนิยมใ้ช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์เึครือข่าย
  1.2 สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดหุ้มฉนวน ( Shielded Twisted Pair : STP )  เป็นสายตีเกลียวคู่ที่ชั้นนอกหุ้มด้วยลวดถักที่หนา เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า รองรับความถี่ของการส่งข้อมูลได้สูงกว่าสายตีเกลียวคู่แบบไม่้ป้องกันสัญญาณรบกวน แต่มีราคาเเพงกว่า

    2.สายโคแอกซ์ ( coaxial cable ) มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อมาจากเสาอากาศประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันกระเเสไฟฟ้ารั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นเปียเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่น ๆ  ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงสุดมาก นิยมใช้เป็นช่องสื่อสารสัญญาณเชื่อมโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน สายโคแอกซ์ที่ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ 50 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณดิจิทัล และชนิด 75 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณอะนาล็อก 
   3. สายใยเเก้วนำแสง ( fiber optic cable )  หรือเส้นใยนำแสง แกนกลางของสาย ประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือเส้นพลาสติกขนาดเล็กภายในกลวงหลาย ๆ เส้นอยู่รวมกัน เส้ยใยแต่ละเส้นจะมีขนาดเล็กประมาณเส้นผมของมนุษย์ เส้นใยแต่ละเส้นห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่ง ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวน การส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่นๆ ซึ่งจะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้น และอาศัยหลักการหักเหของแสง โดยใช้เส้นใยชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลที่สูงมาก และไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำใ้ห้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพ กราฟฟิก เสียง หรือวีดีทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน แต่ยังมีข้อเสียเนื่องจากการบิดงอของสายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหัก จึงไม่สามารถใช้สื่อกลางนี้เดินทางตามมุมตึก สายใยแก้ว นำแสง มีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคารหรือระหว่างเมืองกับเมือง 

   4.2 เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย

    เทคโนโลยีการส่งข้อมูล

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เกร็ด ..... IT




     บรอดเเบนด์


           บรอดแบนด์ คือ ระบบการสื่อสารที่มีความเร็วสูง รับปริมาณการสื่อสารได้มากมายหลายช่องสัญญาณ ซึ่งปัจจุบันระบบบรอดแบนด์ในประเทศไทยได้เข้ามาสู่ผู้ใช้เต็มบ้านแล้วด้วยบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ( Asymmetric Digital  Line : ADSL ) ซึ่งทำให้การใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสุดมากกว่า 2.0 เมกกะบิดต่อ วินาที แต่ในทางธุรกิจโทรคมนาคมคำว่าบรอดแบนด์อาจหมายถึง ระดับความเร็วที่มากกว่าหรือเท่ากับ 256 กืโลบิดต่อวินาที ดังนั้นจึงถือว่าระดับความเร็ว 256 กิโลบิดต่อวินาที เป็นระดับความเร็วขึ้นต่ำสุดของบรอดแบนด์นั้งเอง 


ขอบคุณที่มาจาก : หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2 

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในยุคต่างๆ

         


                                                              
           ยุค 1G เป็นยุคที่ใช้สัญญานวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น สามารถใช้งานทางด้านเสียงได้อย่างเดียว คือ สามารถโทรออก - รับสาย เท่านั้น ถือเป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ โดยใช้วิธีการปรับสัญญาณแอนะล็อกเข้าช่องสื่อสาร ซึ่งแบ่งความถี่ออกเป็นช่องเล็กๆ ด้วยวิธีการนี้ จึงมีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณและการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เกิดการติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมายและการขยายความถี่ ซึ่งโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่ และใช้กำลังไฟฟ้ามากอีกด้วย


         ยุค 2G เป็นยุคที่เปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางวิทยุแบบแอนะล็อกมาเป็นการใช้สัญญาณดิจิทัล โดยส่งผ่านทางคลื่นไมโครเวฟ ทำให้สามารถใช้งานด้านข้อมูลนอกเหนือจากการใช้งานทางเสียงเพียงอย่างเดียว โดยสามารถรับส่งข้อมูลต่างๆ และเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐานหรือเรียกว่า เซลล์ไซต์ ( cell site ) และก่อให้เกิดระบบ GSM ( Global System for Mobile Communication ) ซึ่งทำให้สามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า บริการข้ามเครือข่าย ( roaming )



Ericsson Hotine โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ Portable Set


โทรศัพท์มือถือเครื่องแรกของ Motorola ที่ใช้ระบบ GSM


โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 2G



      ยุค 3G ใช้บริการมัลติมิเดีย และส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น มีความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลสูงสุด 2 เมกกะบิดต่อวินาที หรือเร็วกว่าเครือข่าย EDGE ที่ใช้ในปัจจุบันเกือบ 10 เท่า มีช่อสัญญานความถี่ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า เข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้สะดวกยิ่งขึ้น สามารถใช้การสนทนาแบบเห็นหน้า ( video telephony ) และการประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ ( video conference ) ช่วยให้สามารถสื่อสารได้พร้อมกันทั้งภาพและเสียง รับชมโทรทัศน์หรือวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งมีสัญญาณภาพที่คมชัด และสามารถใช้บริการจ้ามเครือข่าย ( roaming ) ได้เช่นเดียวกับระบบ GSM


ตัวอย่างโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
     ขอบคุณภาพจาก : http://news.siamphone.com/upload/content/Image/iphone_3g_1.jpg

      ยุค 4G เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ มีความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 เมกกะบิดต่อวินาที สามารถเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ ( three - dimensional )  
ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเองโดยให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย เทเลคอนเฟอเรนซ์ เป็นต้น 


ตัวอย่างโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G
ขอบคุณภาพจาก : http://e.lnwfile.com/_files/ua/79/pn.jpg


เครดิต : เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2 

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ชาวมายาหายไปไหน

 ทุกวันนี้นักโบราณคดียังคงศึกษาอาณาจักรมายันเพื่อไขปริ ศนากันต่อไป ทอม เชฟเวอร์ นักโบราณคดีหนึ่งเดียวขององค์การนาซาจากศูนย์การบินอ วกาศมาร์แชล ก็เป็นคนหนึ่ง เชฟเวอร์และทีมงานทำการศึกษาซากเมืองเพเตนในประเทศกั วเตมาลา ซึ่งติดกับพรมแดนเม็กซิโก โดยการขุดค้นหาหลักฐานใต้พื้นดินและใช้รีโมตเซนซิ่งห าหลักฐานที่สายตามนุษย์ มองไม่เห็น 


   สิ่งที่เชฟเวอร์ค้นพบใต้พื้นดินทั่วทั้งบริเวณของ เมืองร้างแห่งนี้คือเรณูของต้นหญ้าแทนที่จะเป็นเรณูข องต้นไม้ใหญ่ หลักฐานนี้แสดงว่าป่าไม้ของเมืองเพเตนลดลงกินบริเวณก ว้างเมื่อประมาณ 1,200 ที่ผ่านมา 

    ทีมงานบอกว่าเมื่อไม่มีป่าฝนก็จะเกิดการกัดเซาะและกา รระเหยของน้ำ และการกัดเซาะจะรุนแรงจนกวาดเอาปุ๋ยที่หน้าดินไปจนหม ดสิ้นหลักฐานการกัดเซาะได้ถูกค้นพบในชั้นดินตะกอนในทะเลสา บ 

ยิ่ง ไปกว่านั้นการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ปกคลุมพื้นดินคือป่า ไม้จะทำให้อุณหภูมิสูง ขึ้น บ๊อบ โอเกิลส์บี นักวิทยาศาสตร์ด้านอากาศของศูนย์การบินอวกาศมาร์แชลห นึ่งทีมงานใช้แบบจำลอง คอมพิวเตอร์คำนวณผลแล้วปรากฏว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้น 5-6 องศาเซลเซียส การที่อุณหภูมิสูงขึ้นมีผลทำให้ผืนแผ่นดินแห้งแล้งซึ่งไม่เหมาะต่อการเจริญ เติบโตของพืช 
    นอกจากนั้นอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะมีผลกระทบต่อ การมีฝนด้วย ดังนั้นในฤดูแล้งเมืองเพเตนจะตกอยู่ในสภาพขาดแคลนน้ำ ขณะที่น้ำใต้พื้นดินก็ลึกถึง 500 ฟุต จนไม่สามารถจะขุดนำมาใช้ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ชาวมายาจะต้องอาศัยการเก็บกักน้ำใน อ่างเก็บน้ำแต่มันก็คงจะ ระเหยไปจนไม่ทันได้ใช้ 

    ขณะที่อาณาจักรมายันมีประชากรจำนวน มากซึ่งจำเป็นจะต้องใช้อาหารและน้ำเป็นจำนวนมากด้วย การศึกษาพบว่าประมาณคริสต์ศักราช 800 เมืองของชาวมายามีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมาก ในพื้นที่ชนบทมีประชากร 500-700 คนต่อหนึ่งตารางไมล์ และ 1,800-2,600 คนต่อหนึ่งตารางไมล์ในบริเวณศูนย์กลางของอาณาจักรทาง ตอนเหนือของประเทศ กัวเตมาลา พอๆ กับนครลอสแองเจลิสในปี 2000 ซึ่งมีประชากร 2,345 คนต่อหนึ่งตารางไมล์ จนกระทั่งถึงคริสต์ศักราช 950 ก็เกิดความหายนะ " บางทีราว 90-95% ของชาวมายาต้องตายไป" เชฟเวอร์กล่าว 

    หลัก ฐานที่สนับสนุนความเป็นไปได้ก็คือ การพบว่ากระดูกของชาวมายาซึ่งมีชีวิตอยู่ในราวสองสาม ทศวรรษก่อนอาณาจักรมา ยันจะล่มสลายซึ่งแสดงว่าเป็นโรคขาดอาหารอย่างรุนแรง 

       เชฟเวอร์ สรุปการศึกษาในครั้งนี้ว่า นักโบราณคดีเคยโต้เถียงกันมานานว่า สาเหตุของการล่มสลายว่าเป็นเพราะความแห้งแล้ง หรือสงคราม หรือโรคระบาดอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ตอนนี้ทีมงานของเขาคิดว่าทั้งหมดล้วนมีบทบาท ทว่าสาเหตุหลักก็คือ การขาดอาหารและน้ำอย่างยาวนาน ซึ่งเกิดจากความแห้งแล้งทางธรรมชาติผสมผสานกับการทำล ายป่าไม้ของมนุษย์ และ เขาคิดว่าการเรียนรู้ว่าชาวมายาทำอะไรถูกต้องและทำอะ ไรผิดพลาดจะช่วยให้ ประชาชนพบวิถีทางที่ยั่งยืนในการทำการเกษตร โดยจะหยุดยั้งการทำสิ่งที่เลยเถิดในช่วงเวลาอันสั้น ซึ่งเคยทำลายชาวมายามา แล้ว
 



ภาพ : สัญลักษณ์ของชาวมายา



ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก : http://www.thaigaming.com/forward-mail/71632.htm

ชาวมายามาจากไหนแน่ ?


   นักโบราณคดีหลายคน ต่างพยายามศึกษาความเป็นมาของเผ่านี้ จากหลักฐานโบราณคดีที่เหลืออยู่ แต่ก็สับสนอยู่ดีว่าพวกเขามาจากไหนกันแน่
    มี ศิลาจารึกขนาดใหญ่ ที่เขียนข้อความอย่างละเอียดเต็มไปหมด ตั้งตระหง่านอยู่กลางเมือง ซึ่งแสดงว่าชาวมายามีภาษาเป็นของตนเองและชอบบันทึกปร ะวัติศาสตร์ แต่..น่าเสียดาย ในข้อความศิลาจารึกนั้นกลับไม่มีใครสักคนที่อ่านออก ตีความได้สักคนเดียว

     สิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับมายา สันนิษฐานว่า ชาวมายาอาจสืบเชื้อสายมาจากอิสราเอล ไม่ก็กรุงทรอย คาร์เธจ ฮั่น แอตแลนติส ฯลฯปกครองด้วยระบบกษัตริย์ เรียกว่า คูฮุลอะฮอว์ (K'uhul ajaw) หรือ เทวกษัตริย์ ใช้อักษรภาพในการบันทึก มีความสามารถทางดาราศาสตร์ จนสามารถทำนายเวลาเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคาได้ล่วงหน้าเป็นเวลานาน รู้จักทำปฏิทินใช้ รู้จักประดิษฐ์เลขศูนย์ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ รู้จักค้าขายเกลือ หยก และเครื่องปั้นดินเผา แต่ชาวมายาไม่รู้จักใช้ล้อและไม่รู้จักการถลุงแร่ ซึ่งแสดงว่าชาวมายาดำรงชีวิตเหมือนมนุษย์หินที่รู้จั กใช้เพียงไม้ กระดูกสัตว์ หินปูน และหินทรายในการสร้างเมือง

   นอกจากนี้ ชาวมายานับถือเทพเจ้ามาก และมีเทพเจ้ามากมาย ทั้งสุริยเทพ วสันตเทพ และมรณเทพ เทพเจ้าเหล่านี้ทรงโปรดปรานการเสวยเลือด ดังนั้น เหล่าเชลยศึกสงครามจะถูกชาวมายาฆ่าเพื่อเอาเลือดไปถว ายเทพ(บางครั้งก็เลือก กันเองในเผ่า)

    แน่นอนมีตำนานเกี่ยวกับที่มาของชนเผ่านี้ด้วย จากคำบอกเล่าว่ากันว่า ชาวมายาสืบเชื้อสายจากพระเจ้าผิวสีขาว มีเครายาว และเดินทาง


อาณาจักรมายามีซากสิ่งก่อสร้างหลายแห่งหลายที และแต่ละที่นั้นถูกขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกทั้งสิ้น 
  • ติ กัล (Tikal) มีพีระมิดของชาวมายา สูง 212 ฟุต บนยอดวิหารมีห้องมากมาย มีแท่นบูชากับหินแกะสลักอักษรภาพเป็นจำนวนมาก ตามฝาผนังของวิหารก็มีรูปสลักเต็มแทบทุกด้าน
  • เปเตน (Peten)
  • ปาเลงเก (Palenque) มีสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยปากัล พบหลุมศพจำนวนมากและในวิหารแห่งศิลาจารึก (Temple of the Inscriptions)
  • ซีบิลชัลตุน (Dzibilchaltun) มีวิหารขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า The Temple of the Seven Dolls
   นัก โบราณคดียุคปัจจุบันต่างตื่นตะลึงกับสิ่งก่อสร้างอัน มหัศจรรย์มากมายของชาว มายาซึ่งไม่ใช้เครื่องมือโลหะในการก่อสร้างเลย เช่น วิหารรูปทรงพีระมิด ราชวังและหอดูดาว เป็นต้น ยอดพีระมิดของชาวมายาจะแบนราบต่างจากพีระมิดของชาวอี ยิปต์ พีระมิดที่เมืองติกัลสูงถึง 212 ฟุต บนส่วนยอดมีห้องมากมาย และแท่นบูชากับหินแกะสลักอักษรภาพ ราชวังของเมืองติกัลเป็นอาคาร 4 ชั้น มีห้องมากถึง 42 ห้อง และเมืองอักซ์มัลมีโรงละครขนาดใหญ่ มันช่างอลังการเหลือเกินอย่าว่าแต่สมัย โบราณเลย เพราะจนถึงปัจจุบันนี้การสร้างสิ่งก่อสร้างแบบนี้นับ ว่ายากมากๆ
นอกจากนี้ยังมีการสันนิษฐานถึงทฤษฏีพระเจ้าจากอวกาศ
หลัก ฐานสำคัญเกี่ยวกับพระเจ้าของชาวมายานี่ก็อีก รูปสลักภาพวาดแต่ละภาพล้วนสวยงามตามเอกลักษณ์แบบศิลป มายา แต่ก็น่าแปลกที่พระเจ้าของพวกเค้าล้วนพิลึกกึกกือเป็ นที่สุด บางรูปเป็นรูปพระเจ้าขับยานอวกาศ บางภาพเป็นรูปสาวกของพระเจ้ากำลังปราบปีศาจร้าย และอาวุธที่อยู่ในมือ นักโบราณคดีต่างลงความเห็นว่า มันคือปืนอย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อสองพันกว่าปีก่อนมีปืนใช้กันแล้วหรือค่ะ? ภาชนะบางชิ้นของพวกเขาก็เช่นกัน ถ้วยบางชิ้นมีภาพวาดของมนุษย์สวมหมวกอวกาศ 



ชาวมายาคือใคร และอยู่ตรงไหน ?


     อาณาจักร มายา ตั้งอยู่ในอเมริกากลาง มีพื้นที่บริเวณประเทศเม็กซิโกคาบเกี่ยวกับเบลีซและกัวเตมาลา มีความรุ่งเรืองช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง ค.ศ. 1502 มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่นครวากา ปัจจุบันคือ เอลเปรู มีอายุร่วมสมัยเดียวกับอารยธรรมเตโอตีอัวกาน ซึ่งถือว่าเป็นอาณาจักรที่ใหญ่มากเพราะมีพื้นที่กินถึง ประเทศคือเม็กซิโก กัวเตมาลา และฮอนดูรัส
   ตามประวัติ อาณาจักรแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองไพศาลมาก มีอายุยาวนานนับได้ 2000ปี ตั้งแต่คริสต์ศักราช 250 อาณาจักรแห่งนี้มีซากสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตน่าทึ่งที่สุด ไว้เป็นมรดกโลก และฝากปริศนาให้คนรุ่นหลังขบคิดกันว่าเกิดจากสาเหตุใ ด
    อาณาจักร มายาเป็นอาณาจักรแสนยิ่งใหญ่ที่ประกอบด้วยเมืองเอกหล ายเมืองด้วยกันมีเมือง สำคัญหลายเมือง คือ เมืองติกัล (Tikal) เพเตน (Peten) ในประเทศกัวเตมาลา ปาเลงกอ (Palenque) ในภาคใต้ของประเทศเม็กซิโก เมืองโคปัน (Copan) ในประเทศฮอนดูรัส เมือง อิทซา (Itzar) อักซ์มัล (Uxmal) และมายาปัน (mayapan) ในบริเวณคาบสมุทรยูคาตัน

     เมืองของชาวมายาประกอบด้วยชุมชนเกษตรอยู่ชั้นนอก ชุมชนเมืองอยู่ชั้นในล้อมรอบจุดศูนย์กลางซึ่งเป็นบริ เวณสิ่งก่อสร้างที่ใช้ ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งสิ่งก่อสร้างนั้นมีหลายแบบ เช่น ปิรามิด วิหาร ปละปราสาทราชวัง ซึ่งสร้างจากศิลาล้วนๆ บ่บอกความเจริญรุ่งเรืองของชาวมายาอย่างดี

   ในระหว่างปี พ.ศ. 800-1450 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยุโรปกำลังตกอยู่ในยุคมืดแห่งอวิ ชชา แต่สำหรับชาวมายานั้น ตามประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า ในระยะเวลาดังกล่าว อารยธรรมมายาได้เจริญรุ่งเรืองสุดขีดมากๆได้สร้างพีร ะมิดและพระราชวังที่ มโหฬารและวิจิตรอลังการมากมาย