วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต


   อินเทอร์เน็ต ถือ ได้ว่าเป็นบริการสาธารณะและมีผู้ใช้จำนวนมาก เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เข้ามาใช้ควรมีกฏกติกาที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานที่ผิดวิธี ในทีนี้ขอแยกเป็น 2 ประเด็น คือ

    1. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต
   แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 
   
        1. ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย ประกอบด้วย 

 ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ชื่อบัญชี  (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ 


ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น

ควรวางแผนการใช้งานล่วงหน้าก่อนการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อเป็นการประหยัดเวลา


เลือกถ่ายโอนเฉพาะข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานจริง

ก่อนเข้าใช้บริการต่างๆ ควรศึกษากฏ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการติอต่อ

                2.ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย ประกอบด้วย

เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่ และที่ติดต่อ

เมื่อนำข้อมูลจากเครือข่ายมาใช้ ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น และไม่ควรแอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง

ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต

               3.ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ ประกอบด้วย

ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร และใช้คำให้ถูกความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัดเข้าใจง่าย

ไม่ควรนำความลับ หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย

หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูก เหยียดหยามศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น

ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นควรสอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อด้วย ก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ไปยังผู้ที่เราติดต่อด้วย

ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เช่น จดหมายลูกโซ่

              4.ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ ประกอบด้วย

ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการติดต่อกับเครือข่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นๆ บ้าง

ควรติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น

        2. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย

ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และข่าวสารต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง

ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น

ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้

ควรระบุแหล่งที่มา วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้เผยแพร่ รวมทั้งควรมีคำแนะนำ และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน

ควรระบุข้อมูล ข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา ข่าวลือ ความจริง หรือความคิดเห็น

ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และที่สำคัญคือไม่ควรแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นที่เผยแพร่บนเครือข่าย

ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรมที่นำความเสียหาย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย และควรตรวจสอบแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร หรือโปรแกรมว่าปลอดไวรัส ก่อนเผยแพร่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต


ขอบคุณที่มา :  ttp://tc.mengrai.ac.th/paisan/elearning/internet/page35.htm


วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

    อินเทอร์เน็ต หมายถึง ครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสายตรงเชื่อมต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก. ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางอีเมล์ สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้. อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย, องค์กร หรือเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล 
 


  เว็บเพจ คือ  หน้าไฟล์เว็บไซต์หน้าต่างๆ จะมีเนื้อหา ภาพ เสียง และองค์ประกอบอื่นๆ ที่สามารถสร้างขึ้นมาได้ เปรียบเสมือนหนังสือเล่มหนึ่ง ที่สามารถเปิดอ่านได้หลายๆ หน้า เว็บเพจแต่ละหน้าจะถูกระบุเชื่อมโยงด้วยที่อยู่ของเว็บเพจที่เรียกว่า Url (Uniform Resource Locator) และในเว็บเพจยังมีจุดเชื่อมโยง (Links) หรือ ไฮเปอร์ลิงค์ (Hyperlink) ที่เป็นข้อความ หรือภาพที่ให้คลิกเม้าส์เพื่อเชื่อมโยงไปยังที่อยู่ของเว็บเพจอื่นๆ โดยการระบุด้วย Url นั่นเอง ตัวอย่าง Url ของเว็บไซต์

ขอบคุณที่มาจาก : http://www.faodoo.com/modules.php?name=Web_Board&file=view&No=19

  โฮมเพจ คือ คือ หน้าแรกของเว็บไซต์ เปรียบเสมือนหน้าบ้านของเรานั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น หากท่านเข้าเว็บไซต์ด้วยชื่อ www.google.co.th  ท่านก็จะเห็นหน้าแรก หรือ โฮมเพจ ทันที ซึ่งจะประกอบไปด้วยรายละเอียดโดยรวมเกี่ยวกับเว็บไซต์นั้นๆ และไฟล์ที่ใช้แสดงหน้าโฮมเพจ โดยปกติจะตั้งชื่อเป็น index.html

ขอบคุณที่มาจาก : http://www.faodoo.com/modules.php?name=Web_Board&file=view&No=19

 เว็บไซต์ คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงานโดยเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page) หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บไซต์ก็คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) ถึงกัน ตามหลักคำว่า เว็บไซต์จะใช้สำหรับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์แบบเซิร์ฟเวอร์หรือจดทะเบียนเป็นของตนเองเรียบร้อยแล้วเช่น www.google.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลเป็นต้น




วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

       การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่มากับมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยใช้ภาษาเป็นสื่อในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ซึ่งปัจจุบันการสื่อสารข้อมูลมีพัฒนาการเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น มีการส่งข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ซึ่งการเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นพื้นฐานสำคัญในการทำความเข้าใจเพื่อการพัฒนา และสามารถใช้เทคโนโลยีสำหรับการติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

         1. ความหมายและพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล
    
   การสื่อสาร ( Communication ) หมายถึง การส่งข้อมูลจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนข้อมูล ( data ) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักในการหาความจริง โดยในที่นี้จะหมายถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปตัวเลข 0 หรือ 1 ต่อเนื่องกันไป ซึ่้งเป็นค่าที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ

  ดังนั้น การสื่อสารข้อมูล ( data communication ) จึงหมายถึงกระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปตัวเลขฐานสอง ที่เกิดจากอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการติดต่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารตลอดจนแบ่งปันการใช้ทรัพยากรณ์ที่ีมีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน   


        การติดต่อสื่อสารของมนุษย์ในสมัยโบราณมีวิธีการที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เช่น การใช้ม้าเร็ว ใช้นกพิราบสื่อสาร เป็นต้น แต่เมื่อมนุษย์มีการพัฒนาความเป็นอยู่และการดำรงชีืวิต เครื่องมือและอุปกรณ์ในการสื่อสารก็ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัยก้าวหน้าควบคู่มาโดยตลอด เพื่อความสะดวกสบายในการสื่อสาร มีการใช้โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร โทรทัศน์ ดาวเทียม ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก ( Global Positioning System : GPS ) ระบบ 3G และ 4G ตามลำดับ การสื่อสารสามารถเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารให้ได้ยิืนเสียงและได้เห็นภาพเหล่านี้ ล้วนเป็นพัฒนาการด้านความคิดของมนุษย์ที่คิดค้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการข่าวสารข้อมูลของมนุษย์ด้วยกันเอง โดยสามารถสรุปพัฒนาการของสื่อสารข้อมูลที่สำคัญ ตั้งแต่อดีตจนถึง
ปัจจุบันตามลำดับ 


                2. เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์
        เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ ( computer network ) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกตามสภาพการเชื่อต่อได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้
        
         2.1 เครือข่ายส่วนบุคคล
   เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน ( Personal Area Network : PAN ) เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการเชื่อต่อแบบไร้สายในระยะใกล้ เช่น การเชื่อต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ การเชื่อต่อคอมพิวเตอร์กับเครื่องพีดีเอ เป็นต้น

        2.2 เครือข่ายเฉพาะที่
  เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน ( Local Area Network : LAN ) เป็นเครือข่ายขนาดเล็กซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยุ่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เป็นต้น โดยคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย เช่น ฮับ สวิตช์ เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัวจะเชื่อมต่อถึงกันโดยใช้สายตีเกลียวคู่ สายใยเเก้วนำเเสงหรือคลื่นวิทยุ และเครือข่ายแลนจะเชื่อมต่อถึงกันด้วยอุปกรณ์จัดเส้นทาง ( roter ) การสร้างเครือข่ายแลนนี้แต่ละองค์กร สามารถดำเนินการเองได้ หรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนนี้แต่ละองค์กร สามารถดำเนินการเองได้ โดยการวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคารหรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้องหรือองค์การขนาดใหญ่ เช่น ภายในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่เชื่อมต่อกัน สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว และยังสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อีกด้วย
    
    2.3 เครือข่ายนครหลวง
 เครือข่ายนครหลวง หรือแมน ( Metropolitan Area Network : MAN ) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงแลนที่ห่างกัน เช่น ระหว่างสำนักงานที่อยู่คนละอาคาร ระบบเคเบิล ทีวีตามบ้านในปัจจุบัน เป็นต้น โดยมีลักษณะ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีระยะห่างไกลกันในช่วง 5-40 กิโลเมตร ผ่านสายสื่อสารประเภทสายใยแก้วนำแสง สายโคแอกเชียล หรืออาจใช้คลื่นไมโครเวฟ 



   2.4 เครือข่ายวงกว้าง 
 เครือข่ายวงกว้างหรือ แวน  ( Wide Area Network : WAN ) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล มีการติดต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างต่างจังหวัด ระหว่างประเทศ เป็นต้น 


          

   3.โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
     การสื่อสารโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายชนิดต่างๆ กัน ซึ่งไม่สามารถ เชื่อมต่อกันได้โดยตรง ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลที่ส่งและกำหนดมาตรฐานทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟเเวร์เพื่อให้อุปกรณ์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ 

   3.1 โพรโทคอล
  โพรโทคอล ( protocol ) คือ ข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีคอมพิวเตอร์จะจัดรูปแบบและตอบรับข้อมูลระหว่างการสื่อสาร ซึ่งโพรโทคอลจะมีหลายมาตรฐาน และในแต่ละโพรโทคอลจะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป

      การติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านทางเครือข่ายนั้น จำเป็นต้องมีโพรโทคอลที่เป็นข้อกำหนดตกลงในการสื่อสารขึ้น เพื่อช่วยให้ระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้ โพรโทคอลนี้เป็นข้อตกลงที่กำหนดเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล การเเสดงผลข้อมูลสงและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง ดังนั้น จะเห็นได้ว่าโพรโทคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย ซึ่งหากไม่มีโพรโทคอลแล้ว การสื่อสารบนเครือข่ายจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ 

      ในปัจจุบันการทำงานของเครือข่ายใ่ช้มาตรฐานโพรโทคอลต่างๆ  ร่วมกันทำงานมากมาย นอกจากโพรโทคอลระดับประยุกต์แล้ว การดำเนินการภายในเครือข่ายยังมีโพรโทคอลย่อยที่ช่วยทำให้การทำงานของเครือข่ายมีประสิทธิภาพขึ้น ซึ่งโพรโทคอลที่ใช้การสื่อสารในปัจจุบันมีหลายประเภท ตัวอย่างเช่น 

    1. โพรโทรคอลเอชทีทีพี ( Hyper Text Transfer Protocol : HTTP ) เป็นโพรโทคอลหลัดในการใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นช่องทางสำหรับเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภาษาเอชทีเอ็มแอล ( Hyper Text Markup Language : HTML ) ใช้ร้องขอหรือตอบกลับระหว่างเครื่องแม่ข่าย ( web sever ) โดยทำงานอยู่บนโพรโทคอลทีซีพี ( Transfer Control Protocol : TCP )
   
   2. โพรโทคอลอลทีซีพี/ไอพี ( Transfer Control Protocol / Internet Protocal : TCP/IP )
เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต โดยมีการระบุผู้รับ ผู้ส่งในเครือข่าย และ แบ่งข้อมูลออกเป็นแพ็กเก็ตส่งผ่านไปทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งหากการส่งข้อมูลเกิดความผิดพลาดจะมีการร้องขอใ้ห้ส่งข้อมูลใหม่ 

 
   3. โพรโทคอลเอสเอ็มทีพี ( Simple Mail Transfer Protocol : SMTP ) คือโพรโืคอลสำหรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ( electronic mail ) หรือ อีเมล ( Email ) ไปยังจุดหมายปลายทาง
   4. บลูทูท ( Bluetooth ) เป็นโพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz ในการรับส่งข้อมูล คล้ายกับระบบแลนไร้สาย เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงไร้สาย เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ คีย์บอร์ด โทรศัพท์เคลื่อนที่ หูฟัง เป็นต้น เข้าด้วยกันได้สะดวก 

        ปัจจุบันมีโพโทคอลในระดับประยุกต์ใ้ช้งานมากมายนอกจากโพรโทคอลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เช่น การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน ใช้โพรโทคอลชื่อเอฟทีพี ( File Transfer Protocol : FTP ) การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันใช้โพรโทคอลชื่อเอ็นเอ็นพี ( Network News Transfer Protocol : NNTP ) เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในทุกวันนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาโพรโทคอลต่างๆ ขึ้นใช้งาน ซึ่งการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งจำเป็นต้องผ่านการใช้โพรโทคอลต่างๆ หลายโพรโทคอลร่วมกัน 
  

   3.2 อุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  การเชื่อมต่อเึีครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นระบบเครือข่ายได้นั้น จะต้องอาศัยอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( network device ) ซึ่งทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลโดยผ่านทางสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็นสื่อกลางแบบใช้สาย และสื่อกลางแบบไร้สาย ซึ่งอุปกรณ์สื่อสารในระบบคอมพิวเตอร์ มีดังนี้ 
    
   1. เครื่องทวนสัญญาณ ( repeater ) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจัทัลแล้วส่งต่อออกไปยังอุปกรณ์ตัวอื่น เหตุที่ต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ เนื่องจากการส่งสัญญาณไปในตัวกลางที่เป็นสายสัญญาณนั้น เมื่อระยะทางมากขึ้นแรงดันของสัญญาณจะลดลงเรื่องๆ ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณในระยะทางไกลๆ ได้ ดังนั้น การใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณจะทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้น โดยสัญญาณไม่สูญหาย 


      2. ฮับ ( hub ) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่ง หรือเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง เข้าด้วยกัน สัญญาณที่ส่งมาจากฮับจะกระจายไปยังทุกเครื่องที่ต่ออยู่กับฮับ ซึ่งแต่ละเครื่องจะเลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตอนเองเท่านั้น

    
    3. บริดจ์ ( bridge ) ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลตัวเดียวกัน ซึ่งมีความสามารถมากกว่าฮับและอุปกรณ์ทวนศัญญาณ คือ สามารถกรองข้อมูลที่จะส่งต่อได้ โดยการตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ส่งนั้นมีปลายทางอยู่ที่ใด หากเครื่องปลายทางอยู่ภายในเครือข่ายเดียวกันกับเครื่องส่ง ก็จะส่งข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น ไม่ส่งไปยังเครือข่ายอื่น แต่หากข้อมูลมีปลายทางอยู่ที่เครือข่ายอื่น ก็จะส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 


    4. อุปกรณ์จัดเส้นทาง ( router ) สามารถกรองข้อมูลได้เช่นเดียวกับบริดจ์ แต่จะมีความสามารถมากกว่า ตรงที่สามารถหาเส้นทางในการส่งกลุ่มข้อมูล ( data packet ) ไปยังเครื่องหมายปลายทางในระยะทางที่สั้นที่สุดได้

  
    5. สวิตช์ ( switch ) นำความสามารถของฮัยกับบริดจ์มารวมกัน แต่การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งจะไม่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเหมือนกับฮับ เพราะสวิตชฺจะทำหน้าที่รับกลุ่มข้อมูลมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นของคอมพิวเตอร์เครื่องใด แล้วนำข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์เป้าหมาย ซึ่งช่วยลดปัญหาการชนกันหรือความคับคั่งของข้อมูล
   6. เกตเวย์ ( gateway ) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าเครือข่ายนั้นจะใช้โพรโทคอลตัวใดก็ตาม เนื่องจากเกตเวย์สามารถเเปลงรูปแบบแพ็กเก็ตของโพรโทคอลหนึ่งไปเป็นรูปแบบของอีกโพรโทคอลหนึ่งได้ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในเครือข่ายของเกตเวย์ไว้ในอุปกรณ์จัดเส้นทาง ( router ) แล้ว ทำให้อุปกรณ์จัดเส้นทางสามารถทำงานเป็นเกตเวย์ได้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องซื้อเกตเวย์อีก 
       
   4. เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
   เทคโนโลยีในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย และเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย ดังนี้

   4.1 เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย
     เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบใช้สาย แบ่งออกตามชนิดของสายสื่อสารได้ 3 ชนิด ดังนี้
  1. สายตีเกลียวคู่ ( twisted pair cable ) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดง 2 เส้น ที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก พันบิดกันเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกัน หรือจากภายนอก เนื่องจากสายตีเกลียวคู่นี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายตีเกลียวคู่จะขึ้นอยู่กับความหนาของสาย คือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วสูง โดยทั่วไปใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล สามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินร้ิอยเมตร เนื่องจากมีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี จึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง สายตีเกลียวคู่ มี 2 ชนิด ดังนี้
   1.1 สายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดไม่หุ้มฉนวน ( Un-shielded Twisted Pair : UTP )  เป็นสายตีเกลียวคู่ที่ไม่มีฉนวนชั้นนอก ทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่สามาถป้องกันการรบกวนของคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า ได้น้อยกว่าสายตีเกลียวคู่ชนิดหุ้มฉนวน (STP) ใช้ในระบบวงจรโทรศัพท์ แบบดั้งเดิม ปัจจุบันมีการปรับคุณสมบัติให้ดีขึ้น สามารถใช้กับสัญญาณความถี่สูงได้ และเนื่องจากมีราคาถูกจึงนิยมใ้ช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์เึครือข่าย
  1.2 สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดหุ้มฉนวน ( Shielded Twisted Pair : STP )  เป็นสายตีเกลียวคู่ที่ชั้นนอกหุ้มด้วยลวดถักที่หนา เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า รองรับความถี่ของการส่งข้อมูลได้สูงกว่าสายตีเกลียวคู่แบบไม่้ป้องกันสัญญาณรบกวน แต่มีราคาเเพงกว่า

    2.สายโคแอกซ์ ( coaxial cable ) มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อมาจากเสาอากาศประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันกระเเสไฟฟ้ารั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นเปียเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่น ๆ  ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงสุดมาก นิยมใช้เป็นช่องสื่อสารสัญญาณเชื่อมโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน สายโคแอกซ์ที่ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ 50 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณดิจิทัล และชนิด 75 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณอะนาล็อก 
   3. สายใยเเก้วนำแสง ( fiber optic cable )  หรือเส้นใยนำแสง แกนกลางของสาย ประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือเส้นพลาสติกขนาดเล็กภายในกลวงหลาย ๆ เส้นอยู่รวมกัน เส้ยใยแต่ละเส้นจะมีขนาดเล็กประมาณเส้นผมของมนุษย์ เส้นใยแต่ละเส้นห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่ง ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวน การส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่นๆ ซึ่งจะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้น และอาศัยหลักการหักเหของแสง โดยใช้เส้นใยชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลที่สูงมาก และไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำใ้ห้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพ กราฟฟิก เสียง หรือวีดีทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน แต่ยังมีข้อเสียเนื่องจากการบิดงอของสายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหัก จึงไม่สามารถใช้สื่อกลางนี้เดินทางตามมุมตึก สายใยแก้ว นำแสง มีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคารหรือระหว่างเมืองกับเมือง 

   4.2 เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย

    เทคโนโลยีการส่งข้อมูล

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เกร็ด ..... IT




     บรอดเเบนด์


           บรอดแบนด์ คือ ระบบการสื่อสารที่มีความเร็วสูง รับปริมาณการสื่อสารได้มากมายหลายช่องสัญญาณ ซึ่งปัจจุบันระบบบรอดแบนด์ในประเทศไทยได้เข้ามาสู่ผู้ใช้เต็มบ้านแล้วด้วยบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ( Asymmetric Digital  Line : ADSL ) ซึ่งทำให้การใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสุดมากกว่า 2.0 เมกกะบิดต่อ วินาที แต่ในทางธุรกิจโทรคมนาคมคำว่าบรอดแบนด์อาจหมายถึง ระดับความเร็วที่มากกว่าหรือเท่ากับ 256 กืโลบิดต่อวินาที ดังนั้นจึงถือว่าระดับความเร็ว 256 กิโลบิดต่อวินาที เป็นระดับความเร็วขึ้นต่ำสุดของบรอดแบนด์นั้งเอง 


ขอบคุณที่มาจาก : หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2 

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในยุคต่างๆ

         


                                                              
           ยุค 1G เป็นยุคที่ใช้สัญญานวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น สามารถใช้งานทางด้านเสียงได้อย่างเดียว คือ สามารถโทรออก - รับสาย เท่านั้น ถือเป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ โดยใช้วิธีการปรับสัญญาณแอนะล็อกเข้าช่องสื่อสาร ซึ่งแบ่งความถี่ออกเป็นช่องเล็กๆ ด้วยวิธีการนี้ จึงมีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณและการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เกิดการติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมายและการขยายความถี่ ซึ่งโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่ และใช้กำลังไฟฟ้ามากอีกด้วย


         ยุค 2G เป็นยุคที่เปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางวิทยุแบบแอนะล็อกมาเป็นการใช้สัญญาณดิจิทัล โดยส่งผ่านทางคลื่นไมโครเวฟ ทำให้สามารถใช้งานด้านข้อมูลนอกเหนือจากการใช้งานทางเสียงเพียงอย่างเดียว โดยสามารถรับส่งข้อมูลต่างๆ และเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐานหรือเรียกว่า เซลล์ไซต์ ( cell site ) และก่อให้เกิดระบบ GSM ( Global System for Mobile Communication ) ซึ่งทำให้สามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า บริการข้ามเครือข่าย ( roaming )



Ericsson Hotine โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ Portable Set


โทรศัพท์มือถือเครื่องแรกของ Motorola ที่ใช้ระบบ GSM


โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 2G



      ยุค 3G ใช้บริการมัลติมิเดีย และส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น มีความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลสูงสุด 2 เมกกะบิดต่อวินาที หรือเร็วกว่าเครือข่าย EDGE ที่ใช้ในปัจจุบันเกือบ 10 เท่า มีช่อสัญญานความถี่ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า เข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้สะดวกยิ่งขึ้น สามารถใช้การสนทนาแบบเห็นหน้า ( video telephony ) และการประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ ( video conference ) ช่วยให้สามารถสื่อสารได้พร้อมกันทั้งภาพและเสียง รับชมโทรทัศน์หรือวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งมีสัญญาณภาพที่คมชัด และสามารถใช้บริการจ้ามเครือข่าย ( roaming ) ได้เช่นเดียวกับระบบ GSM


ตัวอย่างโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
     ขอบคุณภาพจาก : http://news.siamphone.com/upload/content/Image/iphone_3g_1.jpg

      ยุค 4G เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ มีความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 เมกกะบิดต่อวินาที สามารถเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ ( three - dimensional )  
ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเองโดยให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย เทเลคอนเฟอเรนซ์ เป็นต้น 


ตัวอย่างโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G
ขอบคุณภาพจาก : http://e.lnwfile.com/_files/ua/79/pn.jpg


เครดิต : เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2 

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ชาวมายาหายไปไหน

 ทุกวันนี้นักโบราณคดียังคงศึกษาอาณาจักรมายันเพื่อไขปริ ศนากันต่อไป ทอม เชฟเวอร์ นักโบราณคดีหนึ่งเดียวขององค์การนาซาจากศูนย์การบินอ วกาศมาร์แชล ก็เป็นคนหนึ่ง เชฟเวอร์และทีมงานทำการศึกษาซากเมืองเพเตนในประเทศกั วเตมาลา ซึ่งติดกับพรมแดนเม็กซิโก โดยการขุดค้นหาหลักฐานใต้พื้นดินและใช้รีโมตเซนซิ่งห าหลักฐานที่สายตามนุษย์ มองไม่เห็น 


   สิ่งที่เชฟเวอร์ค้นพบใต้พื้นดินทั่วทั้งบริเวณของ เมืองร้างแห่งนี้คือเรณูของต้นหญ้าแทนที่จะเป็นเรณูข องต้นไม้ใหญ่ หลักฐานนี้แสดงว่าป่าไม้ของเมืองเพเตนลดลงกินบริเวณก ว้างเมื่อประมาณ 1,200 ที่ผ่านมา 

    ทีมงานบอกว่าเมื่อไม่มีป่าฝนก็จะเกิดการกัดเซาะและกา รระเหยของน้ำ และการกัดเซาะจะรุนแรงจนกวาดเอาปุ๋ยที่หน้าดินไปจนหม ดสิ้นหลักฐานการกัดเซาะได้ถูกค้นพบในชั้นดินตะกอนในทะเลสา บ 

ยิ่ง ไปกว่านั้นการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ปกคลุมพื้นดินคือป่า ไม้จะทำให้อุณหภูมิสูง ขึ้น บ๊อบ โอเกิลส์บี นักวิทยาศาสตร์ด้านอากาศของศูนย์การบินอวกาศมาร์แชลห นึ่งทีมงานใช้แบบจำลอง คอมพิวเตอร์คำนวณผลแล้วปรากฏว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้น 5-6 องศาเซลเซียส การที่อุณหภูมิสูงขึ้นมีผลทำให้ผืนแผ่นดินแห้งแล้งซึ่งไม่เหมาะต่อการเจริญ เติบโตของพืช 
    นอกจากนั้นอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะมีผลกระทบต่อ การมีฝนด้วย ดังนั้นในฤดูแล้งเมืองเพเตนจะตกอยู่ในสภาพขาดแคลนน้ำ ขณะที่น้ำใต้พื้นดินก็ลึกถึง 500 ฟุต จนไม่สามารถจะขุดนำมาใช้ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ชาวมายาจะต้องอาศัยการเก็บกักน้ำใน อ่างเก็บน้ำแต่มันก็คงจะ ระเหยไปจนไม่ทันได้ใช้ 

    ขณะที่อาณาจักรมายันมีประชากรจำนวน มากซึ่งจำเป็นจะต้องใช้อาหารและน้ำเป็นจำนวนมากด้วย การศึกษาพบว่าประมาณคริสต์ศักราช 800 เมืองของชาวมายามีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมาก ในพื้นที่ชนบทมีประชากร 500-700 คนต่อหนึ่งตารางไมล์ และ 1,800-2,600 คนต่อหนึ่งตารางไมล์ในบริเวณศูนย์กลางของอาณาจักรทาง ตอนเหนือของประเทศ กัวเตมาลา พอๆ กับนครลอสแองเจลิสในปี 2000 ซึ่งมีประชากร 2,345 คนต่อหนึ่งตารางไมล์ จนกระทั่งถึงคริสต์ศักราช 950 ก็เกิดความหายนะ " บางทีราว 90-95% ของชาวมายาต้องตายไป" เชฟเวอร์กล่าว 

    หลัก ฐานที่สนับสนุนความเป็นไปได้ก็คือ การพบว่ากระดูกของชาวมายาซึ่งมีชีวิตอยู่ในราวสองสาม ทศวรรษก่อนอาณาจักรมา ยันจะล่มสลายซึ่งแสดงว่าเป็นโรคขาดอาหารอย่างรุนแรง 

       เชฟเวอร์ สรุปการศึกษาในครั้งนี้ว่า นักโบราณคดีเคยโต้เถียงกันมานานว่า สาเหตุของการล่มสลายว่าเป็นเพราะความแห้งแล้ง หรือสงคราม หรือโรคระบาดอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ตอนนี้ทีมงานของเขาคิดว่าทั้งหมดล้วนมีบทบาท ทว่าสาเหตุหลักก็คือ การขาดอาหารและน้ำอย่างยาวนาน ซึ่งเกิดจากความแห้งแล้งทางธรรมชาติผสมผสานกับการทำล ายป่าไม้ของมนุษย์ และ เขาคิดว่าการเรียนรู้ว่าชาวมายาทำอะไรถูกต้องและทำอะ ไรผิดพลาดจะช่วยให้ ประชาชนพบวิถีทางที่ยั่งยืนในการทำการเกษตร โดยจะหยุดยั้งการทำสิ่งที่เลยเถิดในช่วงเวลาอันสั้น ซึ่งเคยทำลายชาวมายามา แล้ว
 



ภาพ : สัญลักษณ์ของชาวมายา



ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก : http://www.thaigaming.com/forward-mail/71632.htm